เพราะครุ-ลหุเป็นเสียงหนัก-เบาของภาษาไทย เรามารู้ข้อมูลของคำแต่ละชนิดกันก่อนนะครับ
ครุ
คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง ๔ คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่นตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ
ครุ (เสียงหนัก) เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กาและมีตัว สะกด รวมทั้งประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก
คำครุ แปลว่า เสียงหนัก สัญลักษณ์ “ อั “ ประกอบด้วย
๒.พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง ๘ แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ
๓.พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป
ลหุ
คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น(รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ
ลหุ คำที่มีเสียงเบา เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ
คำลหุ แปลว่า เสียงเบา สัญลักษณ์ “ อุ “ ประกอบด้วย
๒.พยางค์ที่มีตัวพยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ ธ
ส่วนมากคำครุ-ลหุจะใช้ใน อินทรวิเชียรฉันท์๑๑เป็นส่วนใหญ่ เช่น
คำเอก คำโท
คือ พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุกต์โท ตามลำดับอย่างไรละครับ ใช้ในคำประพันธ์ประเภทโคลง คำประพันธ์ประเภทร่าย (เพราะการแต่งร่ายก็ต้องจบบทด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงสองสุภาพ)
คำเอก คือ
พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก เช่นคำว่า แต่ ข่อย เฟื่อง ก่อ บ่าย ท่าน พี่ ช่วย บ่ คู่ อยู่ ฯลฯ
คำเอก รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้ (คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก แม่ กด แม่ กบ) เช่นคำว่า พระ ตราบ ออก ปะทะ จักร ขาด บัด ฯลฯ
คำโท คือ
พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์โท เช่นคำว่า ค้ำ ข้อง ไซร้ ทั้ง รู้ ไท้ เพี้ยง ฯลฯ
เอกโทษ คือ
คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทแล้วนั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า สิ้นเลือด แปลงเป็น ซิ่นเลือด ภพหล้า แปลงเป็น ภพล่า เป็นต้น
โทโทษ คือ
คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกแล้ว นั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก กำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า เล่าเรื่อง แปลงเป็น เหล้าเรื่อง ค่าจ้าง แปลงเป็น ข้าจ้าง เป็นต้น
ส่วนใหญ่คำเอก-โท เละ เอกโทษ-โทโทษ จะใช้ในโคลงสี่สุภาพและร้องกรองประเภทร่าย คงจะเห็นความแตกต่างของคำแต่ละชนิดแล้วนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น