วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน

ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน

ภาษาสื่อสารเกิดจากการเรียนรู้ มิใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากสัญชาติญาณ 
มนุษย์เราค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาเพื่อ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มาทีละเล็กทีละน้อยตามความจำเป็น ของชีวิตและมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ทั้งภาษาถ้อยคำและภาษา ที่ไม่ใช่ถ้อยคำการใช้ภาษา ในชีวิตประจำวันย่อมมีความแตกต่างกัน ไปบ้างตามกาลเทศะ บุคคล อาชีพ เพศ วัย สภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ วิธีการเรียบเรียงถ้อยคำ และการเลือกใช้ถ้อยคำ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีสิทธิผลทำให้เกิดความแตกต่าง ทำให้เกิดภาษากลุ่มย่อย ๆ ขึ้น แต่อย่างไร ก็ตามไม่ว่าผู้ใช้ภาษา จะอยู่ในสังคมใด ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาของคนในสังคมนั้นให้เข้าใจ ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ภาษาสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษากลุ่มย่อย ๆ ต่าง ๆ มีดังนี้

ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  
แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

1.ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง   และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน 



2.ภาษาถิ่นเหนือหรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กิ๋น
กิน
กาด
ตลาด
กาดมั่ว
ตลาดเช้า
กาดแลง
ตลาดเย็น
กะเลิบ
กระเป๋า
เกือก
รองเท้า
เกี้ยด
เครียด
ขนาด
มาก
ขี้จุ๊
โกหก
ขี้ลัก
ขี้ขโมย

3.ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะปอม
กิ้งก่า
กะต้า
ตะกร้า
เกิบ
รองเท้า
ข่อย
ฉัน, ผม
ข้อง
ติด, คา
คึดฮอด
คิดถึง
จังซั่น
อย่างนั้น
จังซี่
อย่างนี้
จังได๋
อย่างไร
จั๊ก
รู้
4.ภาษาถิ่นใต้  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป 
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กุบกั่บ
รีบร้อน
กางหลาง
เกะกะ
แกล้ง
ตั้งใจทำ
โกปี้
กาแฟ
ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง
ขี้หมิ้น
ขมิ้น
ขี้ชิด
ขี้เหนียว
แขบ
รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ
โกหก
แขว็ก
แคะ
5.ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นตะวันออก
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะแต่ง
ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า
เกียน
เกวียน
คุน,แมะ
ยาย
ตะโงน
ตะโกน
พอแรง
มาก
โพง
กระป๋องตักน้ำ
นักนั่ก
มากมาย,เยอะแยะ
ธุ
ไหว้
สงาด
เยอะ, มากมาย
สนุกซ้ะ
สนุกมาก
 ภาษามาตรฐาน เป็น ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการพูดและการเขียน ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารเข้าใจกันทั้งประเทศด้วยสำนวน และสำเนียงเดียวกัน ใช้ติดต่อสื่อสารในวงราชการ สถานศึกษาและสถาบันสำคัญในสังคม ในสถานการณ์ ที่เป็นทางการ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นภาษามาตรฐานนั้น มักจะเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสาร กันอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ดังเช่น ภาษามาตรฐานของไทยก็ คือ ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร  ภาษามาตรฐานมีลักษณะดังนี้
ี้ 
        1)  เป็นภาษาที่ได้รับการเลือกเฟ้น ภาษามาตรฐานเป็นภาษาถิ่นที่ได้รับการเลือกเฟ้น 
จากภาษาถิ่นของบุคคลในถิ่นที่มีบทบาทในการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมแล้วยกระดับ มาตรฐาน ให้ทุกคนใช้เหมือนกันและเข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ภาษาถิ่นนั้นจะต้องมี ลักษณะผสมผสาน เอาลักษณะ ของภาษาถิ่นอื่น ๆ ไว้ด้วย 
        
        2)  เป็นภาษาที่ได้รับการรวบรวมหลักเกณฑ์ระเบียบของภาษาไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นักวิชาการจะต้อง จัดทำพจนานุกรมและตำราหลักภาษาไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และผู้ใช้ยอมรับ ในหลักของภาษา มีการสอน ให้ผู้ใช้ ้รู้หลักเกณฑ์การเขียน การอ่านให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 

        3)  เป็นภาษาที่ใช้ได้ทุกวงการและทุกสาขาอาชีพ เป็นภาษาที่คนหลายกลุ่มหลายหน้าที่นำไปใช้ได้ และผู้ใช้ภาษา เข้าใจตรงกันทั้งการพูดและการเขียน เช่น ในศาล ในรัฐสภา ในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ การเมืองการปกครอง วิชาการแขนงต่าง ๆ ศิลปกรรม ดนตรีนาฏศิลป์ วรรณคดี และวรรณกรรม เป็นต้น 

        4)  เป็นภาษาที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของสังคม และเทคโนโลยี มีการเพิ่มคำด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทับศัพท์ การประสมคำ หรือบัญญัติศัพท์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ในการใช้และสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย 
               
         5)  เป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับของคนถิ่นอื่นว่าเป็นภาษาประจำชาติเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง จากภาษาถิ่นทั่วไป เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สร้างความภูมิใจแก่คนในชาติ

ภาษาเฉพาะวงการ  เป็นภาษาย่อยที่เกิดจากการใช้ภาษาสื่อสารตามกลุ่มสังคม ตามหน้าที่การงาน หรืออาชีพของผู้ใช้ภาษา การติดต่อสื่อสารของบุคคลที่อยู่ในวงการเดียวกัน หรืออาชีพเดียวกัน มักจะใช้ถ้อยคำภาษาที่มีลักษณะเฉพาะวงการหรือเฉพาะกลุ่มของตนเอง เช่น ภาษาวัยรุ่น  ภาษากีฬา ภาษาการเมือง ภาษากฎหมาย ภาษาธุรกิจ ภาษาโฆษณา เป็นต้น ซึ่งแต่ละบุคคลจะเลือกใช้ถ้อยคำ  ตามความเหมาะสมตามสถานการณ์และบทบาทหน้าที่ของตน ซึ่งถ้อยคำเฉพาะวงการจะใช้สื่อสาร ทำความเข้าใจกันได้ดีในวงการเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน
ตัวอย่างถ้อยคำในภาษาเฉพาะวงการ
ภาษาเฉพาะวงการ
ตัวอย่างคำ
1.  ภาษาวัยรุ่น (คล้ายกับคำสแลงย่อมใช้กันชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็หายไปและจะมีคำใหม่มาแทนอยู่เรื่อย ๆ )
กิ๊ก บ้าน งี๊ด แป๊ก เมี้ยน รั่ว สาด ห่าน เหียก ชี  ซิล  เซลฟ์  วีน  แอ็บ  แอ๊บแบ๊ว  เฟิร์ม   แคน   นอย   เกรียน สก๊อย  เด็กแว้นเป็นต้น
2.  ภาษากีฬาฟุตบอล
กองหน้า กองกลาง กองหลัง ปีกซ้าย ปีกขวา ฮาล์ฟซ้าย ฮาล์ฟขวา เซนเตอร์ฮาล์ฟ แบ็กซ้าย แบ็กขวา ผู้รักษาประตู มิดฟิลด์ สวีปเปอร์ เกมรุก เกมรับ ยิงทางเสาใกล้ ยิ่งทางเสาไกล ยิงมุมแคบ ยิงมุมกว้าง เข้าชาร์จ เข้าสกัด สไลด์ลูก เลี้ยงลูก ผ่านลูก ผ่านลูกสั้น ผ่านลูกยาว ชิพลูก เตะลูกกินเปล่า เตะวอลเลย์ ดีดลูกส้น ยิงลูกไซด์โค้ง เป็นต้น
3.  ภาษากฎหมายข้อหา ของกลาง คดี คดีดำ คดีแดง คดีถึงที่สุด คดีแพ่ง คดีอาญา คดีมโนสาเร่ คดีอุกฉกรรจ์ ความผิดอาญาแผ่นดิน ความรับผิดชอบ ในการรอนสิทธิ์ คำฟ้อง คำให้การ
คำพิพากษา จำนอง จำนำ เช่าซื้อ เช่าทรัพย์ ตกทอดแก่แผ่นดิน ถอนฟ้อง ถือสิทธิ์ ทรัพย์สิทธิ ทรัพย์ส่วนบุคคล ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ นิติกรรมอำพราง นิรโทษกรรม บังคับคดี ปิดคดี ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้สืบสันดาน หมายจับ หมายเรียก เอกสารสิทธิ อนุญาโตตุลาการ เป็นต้น
4.  ภาษาธุรกิจ

การเปิดตลาด การทุ่มตลาด การขายตัดราคา การผูกขาด เขตการค้าเสรี ค่าเสื่อมราคา เงินดาวน์ เงินผ่อน เงินสด เงินปันผล เงินฝืด เงินเฟ้อ ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ตลาดเงิน ตลาดมืด ตลาดสด ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้น ตลาดทุน ตลาดนัด ตลาดร่วม ตัวแทนจำหน่าย กักตุนสินค้า ขายทอดตลาด ทำเลการค้า ทุนทรัพย์ ทุนเรือนหุ้น ทุนสำรอง ทุนหมุนเวียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน โบนัส แป๊ะเจี๊ยะ ปั่นหุ้น เปิดบัญชี ไฟแนนซ์ ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าเข้า สินค้าออก โสหุ้ย อำนาจซื้อ เป็นต้น
5.  ภาษาแพทย์ (ส่วนใหญ่จะใช้คำทับศัพท์/ภาษาคำย่อภาษาอังกฤษ)
ซีซียู  ไซริ้ง   ดีซีส  ซีทีสแกน ฟอร์เซฟ  นีดเดิล วอร์ด  สะเต๊ต  อีอาร์  อีเคโอ  แอดมิท ไอซียู โออาร์  โอพีดี  ฮาร์ท   เป็นต้น
6.  ภาษานักชนไก่
เกล็ดดี  อุ้มไก้แพ้  ดีดแต่หัวที  ขันนอกเปาะ  หย้ำไม่ถึงน้ำ  ชนปล่อยเดือย  ไก่ดีตีหล้า ๆ  ไก่ขี้ข้าตีหัวที  เป็นต้น

(ที่มา:http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น